หมวดหลักสูตร
Click ที่หลักสูตรลงทะเบียนได้ทันที )
ปฏิทินรายเดือน 2567
จัดซื้อ/นำเข้า-ส่งออก
(PS / PS - Import &Export)
ปฏิทินรายเดือน 2567
ระบบคุณภาพ-ผลิตภาพ-บุคคล
(QS-PI-HR)
ตารางอบรมปี 2567 (Download/Print**)
แผนที่โรงแรม (ใกล้ BTS)
ประวัติวิทยากร (บางส่วน)
แบบฟอร์มขอใบเสนอราคา
ผู้ชม
วันนี้ 259
เมื่อวาน 162
ทั้งหมด 283,569
ชมหน้าอื่นๆ
วันนี้ 263
เมื่อวาน 167
ทั้งหมด 321,822
“วงจรการต่ออายุการบริหารจัดการ (Management Renewal Cycle)”

บทความใหม่ (9-2-67)

โดย : คุณรมณีย์ กองแก้ว กรรมการที่ปรึกษาด้านระบบคุณภาพ เพิ่มผลิตภาพ ประจำบริษัท เอสเอสอาร์ ควอลิตี้ เซ็นเตอร์ (ไทยลนด์) จำกัด Mobile : 092-835 2953, 092-775 5853, ssr.qualitycenter@gmail.com,  www.ssrqualitycenter.com



สวัสดีค่ะ
บทความเดือนกุมภาพันธ์ 2567 วันที่ 9 นี้ตรงกับช่วงเทศกาลตรุษจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนขอให้เป็นปีทีดี กิจการงาน รุ่งเรือง ค้าขายiร่ำรวย พักสายมู สำหรับบทความเดือนนี้
วงจรการต่ออายุการบริหารจัดการ (Management Renewal Cycle)”

การที่บริษัทจะอยู่รอดในระยะยาว  บริษัทจะต้องคอยสร้างความเป็นผู้ประกอบการให้เกิดขึ้น การจัดการองค์กรได้เป็น 2 แบบ คือ

 การจัดการแบบมืออาชีพ (Professional management, stewardship)  -   มีโครงสร้างชัดเจนและมีระเบียบแบบแผนเป็นมาตรฐาน

 การจัดการแบบผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Management)  - เป็นทางการน้อยกว่า และกำหนดโครงสร้างแบบหลวมๆ มีความยืดหยุ่นกว่าแบบแรก จากตาราง ข้างล่างแสดงลักษณะนิสัยของผู้จัดการซึ่งมีสไตล์การจัดการองค์กรทั้งสองแบบ  ในมุมของการจัดการเทคโนโลยีรูปแบบการจัดการองค์กรจะต้องถูกปรับเปลี่ยนไปตามแต่ละช่วงของวงจรชีวิตเทคโนโลยีรวบรวมจาก Best Practices หลายๆบริษัทที่มีชื่อเสียง

การจัดการแบบมืออาชีพ  (Professional Management)

               

การจัดการแบบผู้ประกอบการ  (Entrepreneurial Management)  

                   

1. มุ่งเน้นอาชีพโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนเกี่ยวกับงานหรือตำแหน่งในที่ทำงาน และมีแผนการบรรลุเป้าหมายนั้น

1. เริ่มต้นด้วยตนเอง; กำหนดเป้าหมายเทำสิ่งสำคัญโดยลำพัง

2.บรรลุภารกิจผ่านผู้คน

2. สำเร็จงานผ่านตัวเอง

3.ผู้มอบหน้าที่และแรงจูงใจที่ดี

3. เป็นผู้แทนที่จำเป็นต้องควบคุมอย่างมาก

4. เป็นผู้นำที่ดีและเป็นคนดี

4. ผู้นำที่มีเสน่ห์แต่ทำตามยาก

5. มีไหวพริบในการแข่งขัน และทางการเมือง


5. เป็นแรงขับที่แข็งแกร่งมากและมีความสามารถในการทำงาน

6. กำหนดรางวัลสำหรับ:

- เงินสด, ธนบัตร

- ผลตอบแทนที่มองเห็นได้

- สถานะ

6. มุ่งเน้นการให้รางวัลสำหรับ:

- เงิน

- รางวัลที่มองเห็นได้ (เช่น รถยนต์)

- การชื่นชมของชุมชนสำหรับความสำเร็จ

7. ประสบการณ์ ความสามารถ และความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ชัด


7. ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ดีความสามารถในการทำงาน

8. เล่นตามกฎ ไม่ใช่ความเสี่ยง

8. นักคิดเชิงนวัตกรรม

9. มุ่งมั่นในตัวเองมากกว่าบริษัท

9.รับความเสี่ยงปานกลางและคำนวณอย่างดี

 

10. มุ่งมั่นกับบริษัท

 

ดังนั้นในช่วงแรกของการพัฒนาเทคโนโลยี ----- รูปแบบผู้ประกอบการจะเหมาะสม

 ในช่วงเติบโตและเทคโนโลยีอิ่มตัว ----- ควรใช้แบบมืออาชีพ เพื่อจะได้มีการควบคุมการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งในด้านการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลังและการจัดส่ง

องค์กรต้องสร้างโรงงานและจัดซื้อเครื่องจักร เพื่อให้สามารถผลิตได้ตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการ  ในตอนนี้ผู้จัดการแบบมืออาชีพจะต้องวุ่นวายกับการดำเนินธุรกิจวันต่อวัน และต้องมีขั้นตอนควบคุมการทำงานอย่างแน่นหนา หลีกเลี่ยงความเสี่ยง ซึ่งมักนำไปสู่การขาดวิสัยทัศน์ และมองข้ามความสำคัญของนวัตกรรม  ทำให้คนในองค์กรขาดความคิดสร้างสรรค์

            จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า เมื่อองค์กรใช้รูปแบบการจัดการแบบมืออาชีพ จะทำให้สูญเสียจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการ นั่นคือ ความคิดสร้างสรรค์ องค์กรจึงต้องพยายามเรียกคุณสมบัติด้านนี้คืนมา  เกิดเป็นวงจรการจัดการสองรูปแบบ  องค์กรที่ดีต้องสามารถรองรับรูปแบบองค์กรได้ทั้งสองอย่าง นั่นคือต้องจัดโครงสร้างเพื่อเอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม  และเจริญเติบโตได้ไปพร้อมๆกับตลาด  ในขณะเดียวกันก็ยังยืนอยู่แถวหน้าของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้ด้วย

 

โดย : คุณรมณีย์ กองแก้ว (Mobile : 092-835 2953, 092-775 5853)

กรรมการที่ปรึกษาด้านระบบคุณภาพ, เพิ่มผลิตภาพ

บริษัท เอสเอสอาร์ ควอลิตี้ เซ็นเตอร์ (ไทยลนด์) จำกัด

 
 
เว็บสำเร็จรูป
×