การเก็บสต็อกไว้มากเกินไปทำให้ต้นทุนของบริษัทสูง ทำให้เสียเปรียบในการแข่งขัน แต่การเก็บสต็อกไว้ต่ำเกินไปก็ทำให้เสียเปรียบเช่นกันเพราะของจะขาดไม่พอใช้ไม่พอขาย ทำให้การปฏิบัติงานขลุกขลักเสียหาย ทำให้เสียโอกาสและเสียลูกค้า
การไม่รู้ว่าควรต้องลงมือสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มเติมใหม่เมื่อไร และการไม่รู้ว่าควรจะสั่งซื้อครั้งละเท่าไรจึงจะเหมาะสม อีกทั้งเมื่อผู้ขายเสนอส่วนลดเมื่อซื้อมากหรือมีของแถมมาล่อใจก็ไม่สามารถคิดคำนวณเปรียบเทียบหาประโยชน์สูงสุดได้อย่างถูก ต้อง ปัญหาเหล่านี้จะนำไปสู่การเสียเปรียบในการทำธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง
รุ่น วันเวลา สถานที่จัดอบรม
รุ่นที่ 138 - วันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2566 - / โรงแรมจัสมิน สุขุมวิท 23 / ZOOM Online
รุ่นที่ 139 - วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566 - / โรงแรมจัสมิน สุขุมวิท 23 / ZOOM Online
รุ่นที่ 140 - วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2566 - / โรงแรมจัสมิน สุขุมวิท 23 / ZOOM Online
รุ่นที่ 141 - วันพุธที่ 23 สิงหาคม 2566 - / โรงแรมจัสมิน สุขุมวิท 23 / ZOOM Online
รุ่นที่ 142 - วันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2566 - / โรงแรมจัสมิน สุขุมวิท 23 / ZOOM Online
นที่ 143 - วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2566 - / โรงแรมจัสมิน สุขุมวิท 23 / ZOOM Online
รุ่นที่ 144 - วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 - / โรงแรมจัสมิน สุขุมวิท 23 / ZOOM Online
รุ่นที่ 145 - วันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2566 - / โรงแรมจัสมิน สุขุมวิท 23 / ZOOM Online
หัวข้อการสัมมนา (เวลา 9.00 น. - 16.00 น.)
• การเก็บสต็อกไว้จะต้องมีค่าใช้จ่ายเสมอ จะคิดคำนวณค่าใช้จ่ายในการเก็บสต็อกได้อย่างไร
• ถ้าเก็บสต็อกน้อยเกินไปหรือของไม่พอใช้ก็จะมีความเสียหาย จะคำนวณค่าเสียหายได้อย่างไร
• แนวคิดเรื่องการเก็บสต็อกสำหรับผู้มีหน้าที่ในการบริหารงานจัดซื้อและจัดการสต็อก
• แนวคิดเรื่องระดับบริการ และสต็อกกันชน และคณะกรรมการบริหารพัสดุ
• กุญแจ 4 ดอกเพื่อนำสู่ประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารงานจัดซื้อและจัดการสต็อก
กุญแจดอกที่ 1 – พยากรณ์ปริมาณการใช้งานและการขายได้แม่นยำ
กุญแจดอกที่ 2 – กำหนดปริมาณกันชนไว้เผื่อเหนียวได้อย่างเหมาะสม
กุญแจดอกที่ 3 – รู้ว่าเมื่อไรควรจะลงมือสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มเติม
กุญแจดอกที่ 4 – รู้ว่าควรสั่งซื้อครั้งละเท่าไรจึงจะประหยัดที่สุด
• วิธีคำนวณเปรียบเทียบเพื่อประโยชน์สูงสุดเมื่อมีส่วนลดหรือของแถมว่าควรสั่งซื้อครั้งละเท่าไรดี
• การแยกแยะสินค้า/วัตถุดิบ/ชิ้นส่วน ให้ง่ายต่อการควบคุมดูแลและการจัดซื้อ โดยวิธีต่างๆ เช่น
- วิเคราะห์แบบพาเรโต้ (80-20) และเอบีซี (80-15-5)
- วิเคราะห์ความวิกฤติของการใช้งาน (VED)
- วิเคราะห์ความยุ่งยากในการจัดซื้อจัดหา (SDE)
- วิเคราะห์ความซับซ้อนในกระบวนการจัดซื้อจัดหา GOLF
• วิธีวางแผนการจัดซื้อจัดหาและเก็บสต็อกโดยใช้ระบบสามมิติ MUSIC
• การวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระดับสต็อกที่เก็บไว้โดยวิธีต่างๆ
- สต็อกพอใช้ได้นานเท่าไร MOS (Month of supply)
- ใช้เงินหมุนสต็อกได้กี่รอบ ITR (Inventory turnover rate)
- ดัชนีการเก็บอะหลั่ย Spare part index